1. แบบไม่ใช้ Oxygen ( Anaerobic respiration )
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนหรือเรียกว่ากระบวนการหมัก (fermentation) ในสภาพที่เซลล์ขาดออกซิเจนทำให้ NADH และ FADH2 ไม่สามารถถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้กับตัวรับอิเล็กตรอนชนิดต่าง ๆ ในไมโทคอนเดรียได้ จึงทำให้เซลล์ขาด NAD+ และ FAD ทำให้กลไกไกลโคลิซิสหยุดชะงัก เซลล์จึงแก้ปัญหาโดยการใช้สารอื่นมาเป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจน จึงทำให้กลไกการสลายสารอาหารดำเนินไปได้ แต่พลังงานที่ได้จะน้อยกว่าการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน มีกลไกการเกิดได้ 2 แบบ คือ
1. การหมักแอลกอฮอล์ (Alcoholic fermentation)
alcoholic fermentation พบในแบคทีเรียและยีสต์ ในกระบวนการนี้กรดไพรูวิกที่ได้จากกระบวนการไกลโคลิซิสจะถูกเปลี่ยนเป็นอะซิทัลดีไฮด์ (acetaldehyde) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากนั้น acetaldehyde ถูกออกซิไดซ์เปลี่ยนเป็นเอธิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol)
ภาพ กระบวนการหมักแอลกอฮอล์
2. การหมักกรดแลคติก (Lactic acid fermentation)
พบในแบคทีเรียบางชนิด ในคนพบในเซลล์กล้ามเนื้อในสภาพที่ขาดออกซิเจนหรือมีปริมาณออกซิเจนน้อย เช่นทำงานหนักหรือออกกำลังกาย กรดไพรูวิกจะทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน เกิดเป็นกรดแลคติก (Lactic acid) ดังภาพกระบวนการหมักแลคติค
ภาพ กระบวนการหมักกรดแลคติก
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนอิเล็กตรอนไม่ได้ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ดังนั้นพลังงาน ATP ที่ได้จึงเกิดน้อยกว่าการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน พลังงาน ATP ที่เกิดขึ้นจะได้มาจากขั้นตอนไกลโคลิซิส 2 ATP ส่วนกรดแลคติกที่เกิดขึ้นจะถูกลำเลียงออกจากเซลล์กล้ามเนื้อไปยังตับ เพื่อสังเคราะห์กลับเป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ต่อไปได้
10ปีแล้ว ไวจัง
ตอบลบ